top of page

Music Marketing กลยุทธ์ที่ช่วยให้แบรนด์เป็นที่น่าจดจำ

ในทุกวันนี้ดนตรีเป็นสิ่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด เพราะไม่ว่าเราจะเปิดโฆษณาจากแพลตฟอร์มไหน ยังไงเราก็มักจะได้ยินเสียงดนตรีเป็นส่วนหนึ่งอยู่เสมอ ยิ่งไปกว่านั้นปัจจุบันในช่วงที่คอนเทนต์ประเภทวิดีโอกำลังเป็นที่นิยมอยู่นี้ ดนตรีก็เป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้วิดีโอดูโดดเด่นและน่าติดตามมากขึ้น


และที่แน่นอน Music Marketing ไม่ได้พึ่งมานิยมใช้ เพราะโฆษณาดังในอดีตต่างก็เคยใช้เพลงเข้ามาช่วยสร้างอารมณ์ร่วมและสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์มาแล้วนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาของไทยประกันชีวิต ที่ในหลาย ๆ ครั้งเมื่อกำลังจะถึงซีนอารมณ์ จะมีการใช้ดนตรีบรรเลงเข้ามาสร้างให้ดู Dramatic มากขึ้น หรือจะเป็นโฆษณาของแลคตาซอย ที่มีเพลงประจำตัวอย่างเพลง 'แลคตาซอย 5 บาท' ที่นอกจากผู้ชมจะรู้ราคาของสินค้าแล้ว ยังได้รู้ปริมาณของสินค้าอีกด้วย จะเห็นได้ว่า Music Marketing สามารถช่วยให้คนจดจำแบรนด์ของคุณได้เพียงแค่เสี้ยววินาที!


Music Marketing คืออะไร?


การได้ยินเป็นหนึ่งใน Human Senses ที่ทรงอิทธิพลมากต่อความนึกคิดและความรู้สึกของคน ดังนั้น Music Marketing หรือการตลาดดนตรีจึงเปรียบเสมือนตัวช่วยที่เชื่อมกลุ่มเป้าหมายกับแบรนด์เข้าไว้ด้วยกัน การนำดนตรีมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำการตลาดสามารถช่วยให้แบรนด์นั้น ๆ ดูมีเอกลักษณ์เป็นที่น่าจดจำ และทำให้ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงและเพิ่มมิติในการรับรู้รายละเอียดของแบรนด์มากขึ้น


Music Marketing มีรูปแบบไหนกันบ้าง?


ในปัจจุบันตัวอย่างของ Music Marketing ที่เรามักจะได้ยินอยู่บ่อย ๆ มีหลากหลายรูปแบบ เช่น

  • Jingle เป็นท่อนเพลงสั้น ๆ ประกอบโฆษณาตามวิทยุ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นคำพูดที่ Catchy ชื่อแบรนด์นั้น ๆ หรือจะไม่มีเสียงพูดเลยก็ได้ โดยความยาวจะประมาณ 1 นาที ตัวอย่างเช่นเพลง 'แลคตาซอย 5 บาท'

  • Remake & Cover ที่เหล่าศิลปินนำมาร้องใหม่เพื่อให้เข้ากับ Trends หรือกระแสต่าง ๆ ในช่วงนั้น ตัวอย่างเช่น เพลงแลคตาซอย เวอร์ชัน BNK

  • Branded Song เป็นเพลงใหม่ที่ถูกแต่งขึ้นมาเพื่อใช้ใน Campaign นั้น ๆ โดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น เพลงยิ่งรู้จัก ยิ่งรักเธอ - 50 ปี TOYOTA

  • Artist as Ambassador คือการนำศิลปินมาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ซึ่งในแต่ละแบรนด์จะเลือกศิลปินที่เหมาะสมกับสินค้า ตัวอย่างเช่น เป๊ก ผลิตโชค - โออิชิ / AIS

  • Big Data คือที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ที่นอกจากจะเก็บข้อมูลและพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ฟังเพลงได้แล้วยังสามารถนำมาวิเคราะห์และเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ดีมากยิ่งขึ้น

  • Activations คือการทำกิจกรรมทางดนตรี ที่มีแบรนด์ต่าง ๆ มาเป็น Sponsorship ได้ ไม่ว่าจะเป็น Music Festival, คอนเสิร์ตต่าง ๆ หรือจะเป็น Event Music Marketing ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น SangSom Bucket 4.0 'Single Festival'


แล้วการทำ Music Marketing สามารถช่วยสร้างแบรนด์ได้อย่างไร?


1. สร้างเอกลักษณ์และเพิ่มการจดจำ

การทำ Music Marketing สามารถช่วยเพิ่มความจดจำ เคยสังเกตไหมว่าเวลาเราฟังเพลงที่เคยไปประกอบโฆษณาอะไรแล้ว เราจะนึกถึงภาพโฆษณานั้น ๆ หรือในสมัยเด็กเวลาเราได้ยินเสียงเพลงเราจะรู้ทันทีเลยว่านี่คือรถไอศกรีม และข้อมูลจาก Brand Channel พบว่าแบรนด์ที่เลือกเพลงได้เหมาะสมกับตัวตนของแบรนด์สามารถทำให้ผู้บริโภคสามารถจำแบรนด์ได้มากกว่า


2. เพิ่มโอกาสในการมองเห็น

เหตุผลหลักที่เพลงสามารถเป็นเครื่องมือที่ดีในการช่วยการทำการตลาดคือเพลงสามารถเพิ่มโอกาสในการมองเห็น ลองยกตัวอย่าง โดยปกติแล้วเหล่าศิลปิน ไม่ว่าจะเป็นเดี่ยวหรือกลุ่ม ต่างก็มีฐานแฟนคลับเป็นของตัวเองและยิ่งหากเรานำเพลงจากศิลปินต่าง ๆ มาประกอบแคมเปญหรือโฆษณาของเราแล้วละก็เราจะได้ผู้บริโภคใหม่ ๆ ในการขยายกลุ่มเป้าหมาย


3. เสียงเพลงช่วยเพิ่ม Brand Loyalty


แน่นอนว่าหากศิลปินที่เราชื่นชอบไปเป็นพรีเซนเตอร์หรือเพลงของเขาประกอบโฆษณาชิ้นไหนก็ตาม มีหรอที่เหล่าแฟนคลับจะไม่ไปสนับสนุน ดังนั้น Music Marketing สามารถเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ในการขยายกลุ่มเป้าหมาย โดยเหล่าบรรดาแฟน ๆ มักจะคอยสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะหากมีการแข่งขันหรือร่วมแจกรางวัลบนโซเชียลมีเดีย


4. เพลงไม่มีข้อจำกัด


เพลงเป็นสิ่งที่สามารถอยู่ได้ในหลายแพลตฟอร์ม ทั้งออฟไลน์ และออนไลน์​ เพราะสามารถอยู่ในช่องทางไหนก็ได้ อย่างช่องทางออฟไลน์ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ก็ยังทำได้ หรือจะอยู่ในช่องทางออนไลน์ เช่น Spotify, Apple Music หรือจะไปอยู่ใน Platform อย่าง Tiktok, Instagram, Youtube ก็ยังสามารถเข้าถึงได้ เรียกได้ว่าหากเราทำ Music Marketing มาสักชิ้นเราก็สามารถต่อยอดใช้ได้หลากหลายช่องทาง




19 views0 comments
bottom of page