เหตุการณ์พึ่งผ่านมาแบบสด ๆ ร้อน ๆ กับกรณีอดีตนักร้องสาว ‘มีล่า’ ที่ถูกน้องชายแท้ ๆ ของตัวเองย่องเข้าไปกลางดึก และได้ลอบทำร้ายพี่สาวของตัวเอง จนอยู่ในสภาพ ‘สาหัส’ จากเรื่องราวดังกล่าวทำให้ ‘มีล่า’ ป่วยเป็นโรค PTSD หรือ ภาวะป่วยทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง ภาพจำในครั้งนั้นยังคงตามหลอกหลอน และชีวิตเธอเหมือนกับอยู่ในฝันร้ายแทบตลอดเวลา โรค PTSD คืออะไร? อะไรเป็นตัวจุดประกายความกลัวของเธอจนถึงขีดสุด ซึ่งส่งผลให้เธอเป็นโรค PTSD? ทำไมน้องชายถึงทำร้ายพี่สาวแท้ ๆ ของตัวเอง? และความรุนแรงในครอบครัวที่อาจกำลังซ่อนตัวอยู่ภายใต้หน้ากากที่ดูแสนจะอบอุ่น? มาวิเคราะห์กัน!
โรค PTSD คืออะไร? อะไรที่เป็นตัวจุดประกายจากเหตุการณ์นี้?
PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) คือ สภาวะป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง ส่งผลให้เกิดความเครียดทางจิตใจอย่างมาก จนทุกทรมาน ส่งผลให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่การงานและการใช้ชีวิตประจำวันต่างๆ ตามมา ในกรณี ‘มีล่า’ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นมันมากพอที่จะทำให้เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความเครียดให้ตัวเธออย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นความตกใจที่น้องชายของตนบุกเข้ามาในห้อง ความเจ็บปวดจากบาดแผลที่เธอได้รับ หรือแม้กระทั่งความผิดหวังที่เธอได้รับจากคนที่เธอเชื่อใจ
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุทำให้โรค PTSD ปะทุขึ้น และตลอด 2 ปีที่ผ่านมาทำให้เธอมีอาการดังต่อไปนี้
เห็นภาพเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นนั้นตามมาหลอกหลอนอยู่บ่อย ๆ ผุดขึ้นมาซ้ำ ๆ หรือฝันเห็นบ่อยครั้ง
อาการ Flash Back คือ เกิดความตื่นตัว เห็นเหตุการณ์นั้น ๆ กำลังจะเกิดขึ้นกับเรา ควบคุมไม่ได้
หงุดหงิด โมโหง่าย ก้าวร้าว นอนไม่หลับ เครียดได้กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ในเชิงลบ รู้สึกว่าชีวิตตัวเองหม่นหมอง คิดว่าตัวเองคงไม่มีความสุขได้อีกต่อไปแล้ว
ไม่สนใจกิจกรรมที่เคยชอบหรือเคยทำมาก่อน
อาจคิดฆ่าตัวตาย หรือพึ่งสารเสพติดต่างๆ เพื่อต้องการให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น
ความรุนแรงในครอบครัว - ปัญหาที่ซ่อนอยู่ในมุมมืด
หลังจากที่ ‘มีล่า’ ทนไม่ไหว จึงต้องออกมาเปิดเผยเรื่องราวที่เกิดขึ้น หลังจากที่เธอเก็บเงียบมากว่า 2 ปี นั่นก็เพราะ ‘ครอบครัว’ ที่ควรจะเป็นผู้ปกป้องและปกครองของเธอนั้น ‘ไม่สามารถปกป้องเธอได้’ และ ‘ไม่สามารถมอบความยุติธรรมที่เธอต้องการได้’
อย่างไรก็ตามหลังจาก ‘มีล่า’ ออกมาเปิดเผยความจริงได้ไม่นาน ‘เจนนี่’ พี่สาวของเธอก็ออกมาพูดถึงเรื่องดังกล่าวในอีกมุมมองนึง ซึ่งโดยรวมแล้วมีใจความประมาณว่า ‘น้องชายป่วยเป็นจิตเภทและได้พยายามรักษาอยู่หลายเดือน’
‘ทั้งสองทะเลาะกันบ่อยตั้งแต่ยังเด็ก’ และ ‘ทุกคนในครอบครัวต่างทำดีที่สุดแล้วสำหรับพี่น้องทั้งสอง’
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเป็นคำตอบที่ ‘ดี’ แต่ ‘ไม่คำนึงถึงจิตใจของผู้เสียหาย’ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความบกพร่องกับการจัดการของปัญหาในครอบครัวและจุดเล็ก ๆ ที่คล้ายกับมะเร็งที่ถูกมองข้าม จนทำให้มันลามและเกิดความรุนแรงอย่างไม่น่าให้อภัยขึ้น
การทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว เป็นเรื่อง ‘ปกติ’ ที่แทบทุกครอบครัวต้องมีในหมู่พี่ ๆ น้อง ๆ แต่การที่พ่อ แม่หรือผู้ปกครองล้มเหลวที่จะจัดการปัญหานั้น ๆ ตั้งแต่เนิ่น ๆ และป้องกันไม่ให้ปัญหาเล็ก ๆ ลามปลายจนกลายเป็นปัญหาใหญ่อย่างในกรณีนี้ถือว่า ‘ไม่ถูกต้อง’
เมื่อ ‘บ้าน’ ไม่ได้ปอดภัยอีกต่อไป และพ่อแม่อาจจะไม่ใช่คนที่สามารถปกป้องลูกได้จริง ๆ เพราะจากสถิติจาก The National Coalition Against Domestic Violence’s Vision ระบุว่า “ทุก ๆ 1 นาทีจะมีผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกายโดยคนในครอบครัวมากถึง 20 คน และ 1 ใน 4 ของเหยื่อคือได้รับความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจขั้นร้ายแรง”
และในกรณี ‘น้องชาย’ ของ ‘มีล่า’ ล่ะ? ทำไมเขาถึงเลือกที่ทำร้ายพี่สาวแท้ ๆ ของตนเอง?
1. ความรุนแรงที่เริ่มใช้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก - พี่น้องทั้งสองทะเลาะกันบ่อยและบางครั้งมีการใช้อาวุธเป็นเครื่องมือ (อ้างอิงจากคำพูดของ ‘เจนนี่’ พี่สาวคนโตของบ้าน)
2. การสั่งสอนจากผู้ปกครองหรือการลงโทษเมื่อมีการกระทำผิด - จากกรณีที่สองพี่น้องทะเลาะกันมาตลอด คำถามจึงชี้ไปที่ว่า “ทำไมผู้ปกครองถึงปล่อยให้ปัญหามันเกิดซ้ำขึ้นเรื่อย ๆ “ หรือว่าเลือกที่จะใช้วิธีการผิด ๆ ในการแก้ปัญหากันแน่
3. ต้นแบบที่ไม่ดี (สังคมภายในและนอก) - ในช่วงวัยเด็ก ผู้ทำร้ายอาจจะได้รับรู้ถึงพฤติกรรมที่มีความรุนแรง ไม่ว่าจะมาจากผู้เป็นพ่อแม่ หรือสังคมภายนอกที่หล่อหลอมให้เด็กคนหนึ่งเกเรและเลือกที่จะใช้ความรุนแรงในครอบครัว
จริงอยู่ที่ในสื่อต่างระบุว่า สาเหตุหลักที่ตัวน้องชายของผู้เสียหายนั้นได้ทำลงไป มาจากการที่ตัวเขานั้นเป็นโรคจิตเภท แต่อย่างไรก็ตามที่คนเราใช่ว่าอยากเป็นจิตเภทแล้วเป็นได้เลย เบื้องหลังของอาการและโรคเหล่านั้นต่างหากคือสาเหตุที่แท้จริง เหตุการณ์ การสั่งสอน และประสบการณ์ที่ได้รับมาตั้งแต่เด็กนั้น ได้ทำร้ายคน ๆ นึงให้กลายเป็น ‘จิตเภท’ จนคน ๆ นั้นลงมือกับ ‘พี่สาวแท้ ๆ ‘ ของตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ PTSD จะเกิดกับทหารที่ผ่านศึกสงคราม และพานพบกับเหตุการณ์ร้ายแรง หรือภาพติดตาที่ตนลืมไม่ลง แต่ภาวะนี้กลับเกิดขึันกับประชาชนคนธรรมดาคนหนึ่งที่ไม่เคยคาดฝันว่าตนจะต้องมาเจอกับเหตุการณ์แบบนี้ ภายใต้หลังคาของคำว่า ‘ครอบครัว’ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจนทำให้คน ๆ หนึ่งต้องป่วย นั้นไม่สามารถให้อภัยได้จริง ๆ
Comentários