top of page
Writer's picturePassaporn K.

สเต็ปง่าย ๆ เริ่มทำ ‘Podcast’ ด้วยตัวเอง

ก่อนนอนใครเคยเปิดพอดแคสต์ฟังเพื่อกล่อมให้นอนหลับบ้าง ?


เชื่อว่าหนึ่งในกิจกรรมที่หลาย ๆ คนทำระหว่างวันต้องมีการฟังพอดแคสต์อยู่ในนั้นแน่นอน ไม่ว่าจะระหว่างขับรถ นั่งทำงานบ้าน หรือออกกำลังกาย


นี่จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุผลที่ทำให้พอดแคสต์กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ข้อมูลจาก Podcast Insights (2021) กล่าวว่าตอนนี้มี Active Podcast กว่า 2 ล้านตอน และมากกว่า 48 ล้าน Episode ยิ่งด้วยในสมัยนี้ที่อุปกรณ์ในการเข้าถึง Podcast มีมากขึ้นจึงไม่แปลกใจว่าทำไมจำนวนคนฟังพอดแคสต์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างในปี 2021 ที่ผ่านมา จากการสำรวจของ HootSuite ในรายงาน Digital Stat 2021 เดือนตุลาคม พบว่าคนไทยฟังพอดแคสต์เป็นอันดับที่ 19 ของโลก คิดเป็น 19.7 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้งาน และเมื่อเจาะจงเพศและวัยเข้าไปพบว่า ผู้หญิงมีสัดส่วนการฟังพอดแคสต์มากกว่าผู้ชาย และวัยส่วนใหญ่ที่ฟังพอดแคสต์จะอยู่ระหว่างอายุ 16 ถึง 24



แล้วถ้าวันหนึ่งเราอยากจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้ฟังมาเป็นผู้พูดบ้างหล่ะ? เราจะเริ่มต้นยังไง? DOPE EYES เอาสเต็ปง่าย ๆ ในการเริ่มต้นทำพอดแคสต์มาฝากกัน


1. เลือกหัวข้อที่สนใจ


ในช่วงเริ่มต้นหากเราต้องการให้ Podcast ของเราเป็นที่น่าจดจำ เราต้องพยายามเลือกหัวข้อที่เป็น Niche Topic ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่คุณสนใจอยู่แล้วก็ได้ และพยายามเลือกเรื่องที่จะพูดเพียงหัวข้อเดียว เนื่องจากคนฟังอาจจะสับสนได้ว่าช่องนี้ของเราเป็นช่องเกี่ยวกับหัวข้ออะไรกันแน่ แน่นอนว่าในอนาคตเมื่อช่องของเราโตขึ้นเราก็สามารถเพิ่มหัวข้อที่น่าสนใจได้มากขึ้น


2. เลือก Host (Optional)


ลองมองหาคนรู้จักรอบตัวคุณ ไม่ว่าจะเป็น เพื่อน ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ว่ามีใครสามารถจะมาเป็น Host ให้กับพอดแคสต์ของคุณได้บ้าง เพราะมันจะง่ายกว่าการพูดคนเดียวถ้าหากคุณมี Co-Host เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ นอกจากนี้การที่เรามี Co-Host เรายังสามารถแบ่งหน้าที่ในการตัดต่อ หรือหาข้อมูลที่จะพูดได้อีกด้วย แต่แน่นอนว่าการมี Co-Host ก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกันเพราะไม่ใช่ทุกคนจะสามารถทำตามกำหนดแพลนที่เราวางไว้ได้


3. เลือกชื่อ


การเลือกชื่อพอดแคสต์เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะมันจะเป็นสิ่งแรกที่ผู้ฟังเห็นและจะเป็นตัวตัดสินว่าพวกเขาจะเลือกฟังพอดแคสต์ของคุณหรือไม่ หากเราลองดูที่ Top Podcast Spoitify Chart เราจะเห็นว่าการตั้งชื่อพอดแคสต์มีหลากหลายรูปแบบ บางชื่อก็เป็นการเฉลยเลยว่าพอดแคสต์อันนี้จะพูดเกี่ยวกับอะไร แต่บางอันก็ไม่เกี่ยวกับหัวข้อที่จะพูดเลย แต่จริง ๆ แล้วการเลือกชื่อที่ดีนั้นเราควรเลือกชื่อที่กว้าง ๆ เข้าไว้ เพื่อไม่ให้เป็นการจำกัดหัวข้อในการพูดของเราจนเกินไป

https://chartable.com/charts/spotify/thailand-top-podcasts


4. กำหนด Format

  • ความยาว

มีหลายคนออกมาพูดว่า เวลาที่เหมาะสมในการทำพอดแคสต์​คือ 28 นาทีเพราะนั่นเป็นเวลาที่คนขับรถโดยเฉลี่ยหรือไม่ควรเกินกว่าหนึ่งชั่วโมง เพราะโดยปกติแล้วคนจะไม่สามารถโฟกัสอะไรได้นานกว่า 1 ชั่วโมง แต่จริง ๆ แล้ว ความยาวของพอดแคสต์แต่ละตอนไม่มีการจำกัดระยะเวลา แต่เราควรเลือกความยาวให้เหมาะกับเนื้อหาของเรา และพยายามหลีกเลี่ยงการพูดนอกเรื่องเพราะจะทำให้พอดแคสต์ของคุณยาวเกินความจำเป็น เพราะหลาย ๆ ครั้งที่วิดีโอที่มีความยาวกว่า 1 ชั่วโมงแต่ก็ได้รับยอด View ใน Youtube หรือ Spotify เยอะกว่าพอดแคสต์ที่มีระยะเวลาเพียง 5 หรือ 8 นาที

  • Style

พอดแคสต์ที่ได้รับความนิยมมักจะเป็นพอดแคสต์เกี่ยวกับการสัมภาษณ์ หรือเป็นการถอดบทเรียนจากผู้ที่ประสบความสำเร็จ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจำเป็นทำต้องพอดแคสต์เนื้อหาแบบนั้น คุณสามารถเป็นผู้ดำเนินรายการเดี่ยวหรือจะมี Co-Host เข้ามาบ้างในบางช่วงของพอดแคสต์ก็ได้ แต่การที่มีการเชิญแขกรับเชิญมาบ้างก็ช่วยทำให้คุณได้ฐานผู้รับชมใหม่ ๆ ที่เป็นแฟนคลับจากแขกรับเชิญอีกด้วย


6. ขั้นตอนการทำหน้าปก


นอกจากชื่อที่ต้อง Catchy แล้ว การทำ Artwork หน้าปกก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก ๆ เช่นกัน เพราะมันเป็น First Impression ที่คนจะเห็น ลองคิดดูว่าเวลาเลื่อนเลือกดูหน้าปกพอดแคสต์สิ่งแรกที่ดึงดูดให้ผู้ฟังเลือกที่จะกดเข้าไปฟังพอดแคสต์ของเราได้คือหน้าปก โดยรูปหน้าปกควรจะเป็นปกที่เราสามารถแชร์ลงบน Social Media ได้ด้วย


7. เลือก Intro Music


การเลือกเพลงประกอบในพอดแคสต์สามารถช่วยสร้างอารมณ์ร่วมในการฟังได้ ตัวอย่างเช่น พอดแคสต์ที่เป็นการเล่าคดีสยองขวัญ​หรือคดีฆาตกรรม การใส่เสียงดนตรีที่เพิ่มความระทึกขวัญเข้าไปก็เป็นการช่วยเพิ่มอารมณ์ร่วม ทำให้คนฟังรู้สึกอินกับเนื้อหาที่เรากำลังเล่าอยู่มากขึ้น โดยเราสามารถเลือกเพลงที่ไม่ติดลิขสิทธิ์เพื่อใช้ในพอดแคสต์ของเราได้จาก PremiumBeat ซึ่งเพลงจากในเว็บไซต์นี้มีให้เลือกหลากหลายสไตล์


8. อุปกรณ์อัดเสียง


สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการทำพอดแคสต์คืออุปกรณ์อัดเสียงหรือไมโครโฟน เคยไหมที่เข้าไปฟังพอดแคสต์ที่คุณภาพเสียงไม่คมชัดแล้วอยากกดออกถึงแม้ว่าเนื้อหาของพอดแคสต์นั้นจะน่าสนใจแค่ไหนก็ตาม ดังนั้นการที่เสียงมีความคมชัดและฟังดูเป็นธรรมชาติจะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้พอดแคสต์ของเราน่าฟังมากยิ่งขึ้น เราควรให้ความสำคัญกับคุณภาพของเสียง โดยการเลือกไมโครโฟนที่มีคุณภาพและไมโครโฟนที่เป็นที่นิยมในการใช้อัดเสียงพอดแคสต์ที่อยากแนะนำจะเป็นไมโครโฟนแบบ Condenser ซึ่งเป็นไมค์ที่ต้องมีไฟฟ้ามาเลี้ยงตลอดเวลา มีความไวต่อการรับเสียงและสามารถเก็บรายละเอียดของเสียงได้มาก

กว่าไมค์แบบ Dynamic ซึ่งการที่ไมค์แบบ Condenser ไวต่อเสียงนั้นทำให้เราไม่จำเป็นต้องเอาปากไปจ่อใกล้ไมค์มากนัก แต่ก็มีข้อเสียคือหากมีเสียงอื่นรบกวน เสียงรบกวนเหล่านั้นก็จะเข้าไปในไมค์เราง่ายกว่า ดังนั้นเวลาที่อัดเสียงแนะนำให้อัดในห้องที่ปิดมิดชิดและเก็บเสียง ซึ่งจะทำให้คุณภาพเสียงของพอดแคสต์เราดียิ่งขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าไมค์แบบ Dynamic ไม่ดี เพราะจริง ๆ แล้วเราควรเลือกใช้ให้เหมาะกับการใช้งานและความสะดวกของแต่ละคน


สำหรับการเชื่อมต่อพอดแคสต์เพื่อใช้บันทึกในปัจจุบันควรเลือกใช้แบบ USB เนื่องจากสะดวกสบายและหาซื้อง่ายมากกว่าแบบ 3.5 mm. หรือแบบหัวแจ็ค


9. ขั้นตอนอัดเสียงและตัดต่อ

ขั้นตอนนี้คงจะเป็นขั้นตอนที่มือใหม่หัดทำพอดแคสต์น่าจะกังวลที่สุด ยิ่งถ้าหากคุณเป็นคนที่ไม่เคยผ่านการตัดต่อมาก่อนแล้วละก็คงต้องใช้เวลาในการเรียนรู้กันหน่อย แต่อย่าพึ่งกลัวว่าการตัดต่อเป็นเรื่องยากเพราะมันมีโปรแกรมที่คอยช่วยให้การตัดต่อพอดแคสต์เป็นเรื่องที่ไม่ว่าใคร ๆ ก็สามารถทำได้ อย่างโปรแกรม "GarageBand" ที่เรากำลังจะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกัน ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าโปรแกรมนี้ฟรี! สำหรับผู้ที่ใช้งาน Mac เท่านั้น ดังนั้นโปรแกรมนี้จึงเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับคนที่กำลังมองหาโปรแกรมตัดพอดแคสต์ โดยโปรแกรมนี้เป็น Free DAW (Digital Audio Workstation) ที่เราสามารถแยกเสียง Track สำหรับดนตรี, Intros, Outros, Ads Spot และอื่น ๆ และในแต่ละ Track ยังสามารถเปิดใช้งาน Plug-ins ได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น Compression, Noise gates หรือ EQ (Equalizer)


นอกจากนี้ยังมีอีกหลายโปรแกรมที่คนนิยมใช้ตัดต่อพอดแคสต์อีก ไม่ว่าจะเป็น Logic Pro, Adobe Audition, หรือ Audacity ที่ใช้งานได้ทั้งในระบบปฏิบัติการ Mac และ PC


10. พื้นที่ลงพอดแคสต์​


เมื่อผ่านขั้นตอนการอัดเสียง ตัดต่อ และทำหน้าปกมาแล้ว แน่นอนว่าเราต้องหาพื้นที่ลงพอดแคสต์ของเราให้คนได้เข้ามารับฟังซึ่งในปัจจุบันก็มีหลากหลายช่องทางให้เลือกแต่ช่องทางหลัก ๆ ที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้กันมีหลัก ๆ อยู่ 5 ช่องทาง คือ

  • Spotify : แอปพลิเคชันฟังเพลงสุดฮิตที่นอกจากจะมีเพลงให้เลือกฟังแล้วยังมีคอนเทนต์พอดแคสต์หลากหลายรูปแบบให้เลือกฟังอีกด้วย

  • Apple Podcast : แอปพลิเคชันฟังพอดแคสต์สำหรับผู้ที่ใช้งานระบบ iOS

  • Soundcloud: หากใครฟังพอดแคสต์ยุคแรก ๆ คงต้องผ่านการใช้งาน Soundcloud มาแน่นอนเพราะมันเป็นเว็บไซต์แรก ๆ ที่เริ่มมีพอดแคสต์และปัจจุบันก็เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก

  • Overcast : แอปพลิเคชันฟังพอดแคสต์ที่ใช้งานง่าย ฟรี และไม่ต้องลงทะเบียน

  • YouTube : แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งวิดีโอที่ใคร ๆ ก็ต้องรู้จัก ซึ่งนอกจากจะมีคอนเทนต์วีดีโอดี ๆ แล้วทางช่องทาง YouTube เองก็มีช่องพอดแคสต์ให้เลือกชมอีกหลากหลายช่องเช่นกัน


สุดท้ายแล้วอีกหนึ่งสิ่งที่อยากฝากให้ทุกคนได้คิดกันคือเราควรยึดมั่นเอาไว้คือการลงพอดแคสต์ตาม Timeline ที่เราตั้งเป้าไว้ และอย่ารู้สึกผิดหวังหากในช่วงเริ่มต้นจำนวนคนฟังยังไม่สูงมากนัก เพราะถึงแม้คนจะยังฟังไม่เยอะแต่ถ้าเรารักและชอบในสิ่งที่เรากำลังเล่าแน่นอนว่าสักวันหนึ่งพอดแคสต์ของเราจะเป็นที่รู้จักแน่นอน



59 views0 comments

Comments


bottom of page